แบรนด์ข้าวที่ตั้งใจจะเปลี่ยนวิถีชาวนาและกู้ศักดิ์ศรีข้าวหอมมะลิไทย
ข้าวศรีแสงดาว แบรนด์ข้าวที่ตั้งใจจะเปลี่ยนวิถีชาวนาและกู้ศักดิ์ศรีข้าวหอมมะลิไทยในเวทีโลก
.
แต่ไหนแต่ไรคนไทยต่างรู้ดีว่า “ข้าวหอมมะลิ” หรือ Jasmin Rice เป็นสินค้าที่เชิดหน้าชูตาให้กับประเทศ ด้วยตำแหน่งข้าวที่หอมอร่อยและดีที่สุดในโลก จนทำให้ประเทศไทยครองแชมป์ส่งออกข้าวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นสินค้าชนิดแรกของไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็น “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ Geographical Indications (GI) จากสหภาพยุโรป ด้วยความหอมกรุ่นนุ่มอร่อยชนิดที่กินเปล่า ๆ ก็ประทับใจ แต่เคยสงสัยไหมว่า ทั้งที่ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำไมชาวนาส่วนมากยังคงยากจนอยู่ แถมช่วงหลังมานี้ ข้าวไทยยังถูกตีตลาดด้วยข้าวหอมมะลิเกิดใหม่จากถิ่นอื่นจนกระทบต่อเศรษฐกิจชาติ...ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น
.
สินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด โรงสีใหญ่ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นคนหนึ่งที่เก็บเอาความสงสัยนี้มาขบคิดต่อ และท้าทายตัวเองด้วยการพยายามหาทางออก จนเกิดแรงขับเคลื่อนให้เถ้าแก่โรงสีอย่างเขาลงไปคลุกดินคลุกโคลนลองผิดลองถูกอยู่กลางท้องนา กระทั่งมองเห็นปัญหาอย่างกระจ่างชัด และพบแสงสว่างของหนทางรอดที่ปลายอุโมงค์ จนได้นำมาสู่การจัดตั้ง “โครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด” และแบรนด์ “ข้าวตราศรีแสงดาว” ขึ้น โดยตั้งใจจะกู้ศักดิ์ศรีชาวนาและทวงบัลลังก์แชมป์ข้าวหอมมะลิไทยกลับคืนมาให้จงได้
.
ก้าวแรกสู่วงการข้าว จากหน้าที่กลายเป็นความรัก
.
ผมเป็นรุ่นที่สองของโรงสีศรีแสงดาว ตอนมารับช่วงต่อ ผมเพิ่งเรียนจบ อายุ 22 ปี สารภาพเลยว่าตอนนั้นไม่ได้ชอบโรงสีหรอก อยากเป็นนักดนตรีมากกว่า แต่ที่บ้านมีลูกชายคนเดียว เราเห็นว่าเป็นหน้าที่จึงตัดสินใจกลับมาทำทั้งที่ก็ไม่ได้อินเรื่องข้าวเลย ต้องสะกดจิตตัวเองทุกวันว่าเราเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ต้องทำให้ดีที่สุด กระทั่งผ่านไป 3-4 เดือน จากที่เคยรู้สึกเฉย ๆ ก็กลายเป็นความรักขึ้นมา พอรักแล้วก็ตั้งใจจริง ศึกษาดูงานโรงสีเต็มที่ พยายามพัฒนาตัวเอง จนวันหนึ่งเมื่อสิบปีก่อน ได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานที่ประเทศไต้หวันกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI Thailand) แล้วเห็นว่าประเทศที่เป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ พื้นที่ก็น้อย ทั้งยังต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ยังสามารถปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงประชากรและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ที่น่าสนใจคือเขาทำนาแบบประณีต มีมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าความรู้และเทคโนโลยีในการทำนาของเขานำหน้าเราไปเป็นสิบปี พอมองกลับมาที่บ้านเรา ภูมิประเทศก็ดี อากาศดี ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ข้าวหอมมะลิของเราก็ยอดเยี่ยม ได้รางวัลระดับโลกมากมาย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตข้าวคุณภาพดีสูงมาก แต่ทำไมมาตรฐานการปลูกข้าวของเรายังไม่ไปถึงไหน เกษตรกรไทยก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม นั่นเป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้นที่ทำให้อยากช่วยชาวนา แต่ตอนนั้นเรายังไม่แข็งแรงพอ จึงเก็บความคิดนี้ไว้รอวันต่อยอดในภายหลัง
.
แล้วโครงการหมู่บ้านนาหยอด เป็นมาอย่างไร
.
ความที่ทำโรงสีผมจึงเห็นมาตลอดว่าชาวนาลำบาก หลายครั้งถูกขอให้เพิ่มราคาข้าว บอกช่วยพ่อหน่อยนะ ช่วยแม่หน่อย ขึ้นราคาหน่อยได้ไหม เราก็ช่วยได้แค่ 10-30 สตางค์ต่อกิโลกรัม เพราะมีราคาตลาดเป็นเกณฑ์อยู่ ถ้าซื้อแพงเกินไปก็ขาดทุน เลยพยายามพูดคุยเพื่อหาข้อมูลว่าจะมีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ ทำให้เห็นว่าชาวนาส่วนใหญ่ทำนาตามยถากรรมและขาดความรู้เรื่องการจัดการ จึงเกิดปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์เยอะเกินไป ขาดความรู้เรื่องการจัดการธาตุอาหาร โรคแมลง และการเตรียมดินที่ถูกวิธี เมื่อผมพร้อมที่จะลุยและตัดสินใจทำตรงนี้จริงจังก็ได้เข้าไปคุยปรึกษากับปราชญ์ชาวบ้าน และขอให้อาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องมาช่วยหาทางแก้ไข จากนั้นได้ทดลองทำนาหลายวิธีมาก จนมาเจอวิธี “ทำนาหยอด” ที่น่าสนใจเพราะช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 35 เท่า และเพิ่มผลผลิตจาก 300 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ได้
.
ก่อนหน้านี้ชาวนาในพื้นที่มีวิถีการทำนาแบบไหน
.
ถ้าย้อนดูวัฒนธรรมการปลูกข้าวของไทยจะเห็นว่า ในอดีตปู่ย่าตายายเราทํานาแบบ “นาดํา” มีประเพณีการลงแขก ช่วยกันดำนา ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ก็เช่นกัน แต่พอผู้คนแห่แหนไปทํางานในเมืองใหญ่ ประเพณีการลงแขกดำนาก็ค่อย ๆ หายไป พอจะจ้างแรงงาน ค่าแรงก็สูง เกษตรกรเลยเปลี่ยนวิธีทํานามาเป็น “นาหว่าน” โดยตัดขั้นตอนการเพาะกล้า การปักดําออกไป แค่ไถนาแล้วหว่านเลย เป็นวิธีที่ง่ายดีแต่ก็ทําให้เกิดปัญหาตามมา เพราะนาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์เยอะ ประมาณ 35 กิโลกรัมต่อไร่ พอข้าวงอกประชากรข้าวก็หนาแน่น เกิดการแย่งอาหาร การรับแดด รับลม สังเคราะห์แสงก็ทําได้ไม่ดี เป็นโรคเป็นแมลงง่าย แถมยังไม่ทนแล้ง ผลผลิตต่อไร่จึงต่ำ นาหว่านเลยเหมือนเป็นกับดักของเกษตรกรที่ทําง่ายในช่วงต้นแต่สร้างปัญหาในภายหลัง
.
ส่วนการทำนาหยอด จริง ๆ ในประเทศไทยมีมานานแล้ว เป็นการทํานาเชิงประณีต ซึ่งให้ผลผลิตดี ทนแล้ง เหมาะกับภาคอีสานอย่างเรา แต่เกษตรกรยังเคยชินกับการทำนาหว่านที่ใช้เมล็ดพันธุ์มาก พอให้มาทำนาหยอดที่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย ๆ ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรเลยรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะการเปลี่ยนวิธีทำนาก็คือความเสี่ยง หากผิดพลาดหมายถึงรายได้ทั้งปีของเกษตรกร จึงยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร อย่างช่วงแรกผมชวนให้หยอดข้าวฟรีก็แทบจะไม่มีใครอยากเข้าร่วม เพราะเขาไม่เคยทำ เลยกลัวว่าจะได้ผลผลิตน้อย กลัวเสียปีเสียเดือน เกษตรกรว่าอย่างนั้น
.
จุดเด่นหรือข้อดีของการทำนาหยอด
.
นาหยอดเป็นการทํานาที่ค่อนข้างทันสมัยระดับต้น ๆ ของโลก วิธีการคือต้องมีการเตรียมแปลงที่ดี ล่อให้หญ้าขึ้นเต็มที่ก่อนแล้วค่อยไถทิ้ง ตากดินทิ้งไว้ 15 วันเพื่อกําจัดไข่แมลง กําจัดเชื้อโรคในดิน กําจัดวัชพืช เสร็จแล้วไถอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้แปลงนาที่สะอาดแล้วค่อยหยอด โดยใช้เครื่องจักรฝังเมล็ดลงไปในดินทางตรง เป็นการหยอดข้าวแห้งทิ้งไว้เลย พอฝนตกวันไหน นับไปอีกสองอาทิตย์ข้าวจะงอก จากนั้นก็ใช้การจัดการธาตุอาหารและการจัดการโรคแมลงควบคู่ไปด้วย ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือช่วยลดต้นทุนได้เยอะ เพราะลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ลง ซึ่งผ่านการทดลองมาแล้วว่าใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กิโลกรัมก็ให้ผลผลิต 600 กิโลกรัมต่อไร่ได้ และแม้ว่าทุกวันนี้เกษตรกรหลายรายยังใช้เมล็ดพันธุ์หยอดข้าว 8 กิโลกรัมบ้าง 12 กิโลกรัมบ้าง หรือ 18 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะยังไม่มั่นใจ แต่ก็นับว่าน้อยกว่าการทำนาหว่านที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่อยู่ดี ทั้งนี้ ในอนาคตเราตั้งใจไว้ว่าจะส่งเสริมเกษตรกรต้นแบบให้เยอะขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรรายใหม่ ๆ มั่นใจว่าใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กิโลกรัม ก็ทําให้เขาได้ผลผลิตมากขึ้นได้
.
คิดว่าสิ่งที่ชาวนาในพื้นที่ได้จากโครงการนี้คืออะไร
.
เกษตรกรที่ทําสําเร็จแน่นอนว่าสิ่งที่จับต้องได้คือการมีรายได้ที่มากขึ้น เพราะเพียงแค่เขาลดเมล็ดพันธุ์ลงก็ลดต้นทุนได้แล้ว และยังได้ผลผลิตที่ดี เพิ่มปริมาณขึ้นจาก 300 กิโลกรัม เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ เหมือนปลูกข้าวครั้งหนี่งได้ผลผลิตสองปี ดังนั้นเรื่องเงิน เรื่องกำไร เขาได้แน่นอน ส่วนอีกเรื่องเป็นด้านนามธรรม ผมมองว่าเขาได้เปลี่ยนมุมมองและวิธีคิด กลายเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น สังเกตได้จากช่วงปีแรก ๆ ที่เราเข้าไปส่งเสริมจะเหมือนจับปูใส่กระด้ง พูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ พอบอกว่าใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ทําผลผลิตได้ 600 กิโลกรัม เขาหัวเราะเลย เพราะไม่เคยทําได้มาก่อน ที่ทุกวันนี้คุยกันง่ายเพราะภาพความสําเร็จของเกษตรกรในโครงการของเรามีเยอะขึ้น
.
จากหมู่บ้านนาหยอด ต่อยอดสู่การสร้างแบรนด์ข้าวตราศรีแสงดาว
.
หลังจากพยายามพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นถึงศักยภาพของการทำนาหยอดด้วยการขอหยอดข้าวให้ฟรี แม้จะไม่ค่อยมีคนกล้าทำ เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ข้าว แต่ในที่สุดปีแรกก็มีเกษตรกรรอบโรงสีเข้าร่วมโครงการ 20 ราย รวมพื้นที่ปลูกข้าว 300 ไร่ ซึ่งต่างก็เห็นผลสำเร็จจากการทำนาหยอด จากนั้นพอผลักดันให้เกษตรกรสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง ในปีที่ 3 ของโครงการ ผมก็ตัดสินใจทำแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวขึ้นมา ด้วยเห็นว่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่รอบโรงสีเราเป็นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ GI ตามโครงการ “ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” (Geographical Indication Rice) ที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป จึงมีศักยภาพในการทำตลาด แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครชูจุดเด่นตรงนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพราะหากว่ากันตามตรง คนพื้นที่ไม่ใช่คนส่งออก และคนส่งออกก็ไม่ใช่คนพื้นที่ เมื่อหันซ้ายหันขวาแล้วเห็นว่าไม่มีใครทำ ผมเลยตัดสินใจทำเอง
.
โดดเด่นด้วยการเป็นแบรนด์ข้าวที่ได้รับรางวัล Best Design
.
ต้องบอกก่อนว่าช่วงเริ่มต้นทำแบรนด์ข้าวตราศรีแสงดาวค่อนข้างเครียด เพราะตอนนั้นจำนวนเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการเยอะขึ้นมาก แต่ผมยังไม่มีความรู้ด้านแบรนดิง ทำให้ขายข้าวไม่ได้ ไม่รู้จะไปต่ออย่างไรดี โชคดีที่ได้พบกัลยาณมิตรอย่างอาจารย์แชมป์ (สมชนะ กังวารจิตต์) นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกที่เข้าใจเรื่องแบรนด์และเข้าใจ GI อย่างลึกซึ้ง ซึ่งยินดีมาช่วยออกแบบแพ็กเกจจิงให้กับข้าวศรีแสงดาว โดยนำเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ด้วยนวัตกรรมการเปลี่ยนแกลบเหลือทิ้งให้มาเป็นบรรจุภัณฑ์ และดีไซน์ให้นำไปใช้ซ้ำในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก
.
ส่วนด้านการตลาด เขาแนะนำให้เจาะตลาดของขวัญของฝาก เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จักก่อน เพราะมองว่าข้าวของเรามีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าได้ออกสู่ตลาด ผู้บริโภคได้ลองรับประทาน เชื่อว่าข้าวศรีแสงดาวจะเดินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งพอเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ตัวนี้ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก จากแบรนด์ที่ไม่เคยมีใครรู้จักก็เริ่มเป็นที่รู้จัก เพราะได้รางวัล Best Design จากทั่วโลกถึง 18 รางวัล ถือเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ในวงการข้าวของโลก จึงทำให้เราเริ่มส่งออกข้าวได้ และขยายกลุ่มก้อนเกษตรกรในโครงการให้ใหญ่ขึ้น หลังจากนั้นผมยังได้เข้าร่วมโครงการ “พอแล้วดี The Creator” ที่ช่วยขยายองค์ความรู้ให้เราเข้าใจเรื่องการสร้างแบรนด์ และเข้าใจการทำงานกับชุมชน จนตอนนี้ข้าวศรีแสงดาวเข้าสู่ปีที่ 5 มีเกษตรกรในพื้นที่รอบโรงสีเข้าร่วมโครงการ 50-60 คน รวมพื้นที่ปลูกข้าว 2,000 ไร่ และตั้งใจว่าปีหน้าจะขยายพื้นที่เป็น 4,000 ไร่ ก่อนขยับเป็น 6,000 ไร่ ซึ่งผมมั่นใจว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้
.
มองว่าข้าวศรีแสงดาวมีส่วนช่วยยกระดับข้าวไทยอย่างไร
.
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ก่อนหน้านี้ข้าวหอมมะลิในตลาดโลกล้วนมาจากประเทศไทย โดยเราใช้ชื่อว่า Jasmin Rice ที่สร้างชื่อเสียงมาหลายสิบปี แต่ไม่นานมานี้เพื่อนบ้านเราสามารถผลิต Jasmin Rice ออกมาได้แล้ว ถึงแม้คุณภาพจะไม่เท่า แต่มีความใกล้เคียง และใช้ชื่อเดียวกันคือ Jasmin Rice ทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิมีการแข่งขันสูงขึ้น ราคากลางตกต่ำลง รัฐบาลไทยเลยยกมาตรฐานข้าวหอมมะลิของเราเป็น Thai Hom Mali Rice แต่ปรากฏว่าลูกค้าทั่วโลกงง ไม่รู้จัก เราจึงอยากมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ชื่อ Thai Hom Mali Rice เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิไทยและรักษาประโยชน์ของเกษตรกร ซึ่งเอาจริง ๆ ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ข้าวในตลาดที่ใช้ชื่อ Jasmin Rice ณ วันนี้ คุณภาพเทียบกับ Thai Hom Mali Rice ไม่ได้เลย ยิ่งเป็นข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ยิ่งเทียบไม่ได้ ดังนั้นเวลาส่งออกข้าวศรีแสงดาวไปต่างประเทศ ผมจึงพยายามบอกว่าเราคือ Thai Hom Mali Rice ซึ่งคนละตัวกับ Jasmin Rice ที่ขายทั่วไป และชูว่านี่คือผลิตภัณฑ์ GI ถ้าอยากกินข้าวไทยต้องกินของเรา ผมเชื่อครับว่าถ้ารัฐบาลผลักดัน Thai Hom Mali Rice ต่อไปอีก 10-20 ปี จนตลาดสามารถแยกออกว่านี่คือข้าวไทย จะมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ปลูกและผู้ผลิต อีกทั้งผู้บริโภคเองก็จะได้กินข้าวไทยของแท้ด้วย
.
เป้าหมายที่แท้จริงของโครงการหมู่บ้านนาหยอด
.
ผมอยากให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะทุกวันนี้ในขณะที่ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ชาวนากลับมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลําบาก และด้วยความที่ผมทำโรงสี ความหวังของผมก็คืออยากเห็นวงการข้าวของประเทศพัฒนาขึ้น เพื่อรักษาอาชีพชาวนาให้คงอยู่ ไม่อยากให้เกษตรกรขายที่นา เพราะถ้ามองในมุมของโรงสี ต่อให้ผมมีโรงสีใหญ่ขนาดไหน แต่ถ้าไม่มีเกษตรกรก็ไม่มีข้าวมาให้เราสี ซึ่งวันนี้ผมมีความรู้สึกว่าอาชีพเกษตรกรมีความสุ่มเสี่ยงที่จะหายไป ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของการแข่งขันในเวทีโลกที่ดุเดือดขึ้นมาก ราคาข้าวก็ไม่ได้สูงเหมือนในอดีต แล้วยิ่งมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โลกร้อน ฝนทิ้งช่วง ปลูกข้าวยากขึ้น ทำให้โอกาสที่เกษตรกรจะหายไปมีเยอะขึ้น เลยอยากทําตรงนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานข้าวไทยขึ้นมา รักษาอาชีพชาวนา และกู้ศักดิ์ศรีให้พวกเขาด้วย
.
ความฝันสูงสุดของสินสมุทรและศรีแสงดาว
.
จริง ๆ ตอนนี้ผมดีใจมากที่ข้าวศรีแสงดาวเดินหน้าต่อไปได้ ตัวผมก็มีโอกาสที่จะส่งเสริมเกษตรกรต่อไป เพราะพอได้ทำงานกับชาวนา ได้ช่วยสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรจนเห็นว่าหลายคนมีชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่มาพร้อมความสุข รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มีความหมายกับชีวิต คือธุรกิจเดิมอย่างโรงสีก็ยังคงทำต่อไป เพราะถ้าไม่มีโรงสี ผมก็คงมาถึงจุดนี้ไม่ได้ แต่ถ้าถามถึงความฝันสูงสุด ก่อนตายผมอยากทําโครงการข้าวนาหยอดให้ได้ถึง 10,000 ไร่ ซึ่งถ้าทําได้จริง ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำนาในเมืองไทยแบบยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากจะดีขึ้น และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศก็จะดีขึ้นตาม
.
นอกจากนี้ความหวังสูงสุดของผมอีกอย่างคือ อยากเห็นเกษตรกรทั้งหมดของเราหันมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ใส่ใจดิน ใส่ใจโลกใบนี้แบบ 100% เพราะถ้าไปถึงจุดนั้นได้ จะเป็นการยกระดับข้าวไทยและยกระดับชีวิตเกษตรกรไปอีกเท่าตัว สุดท้ายผมอยากเห็น Segment ที่ชัดเจนของ Thai Hom Mali Rice ถ้าได้เห็นก่อนตายก็จะเป็นความภูมิใจของคนทําข้าวคนหนึ่งครับ
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3YdrAg9
อ่านบทความในมุมมองต่าง ๆ ได้ที่ www.creativethailand.org
.
แต่ไหนแต่ไรคนไทยต่างรู้ดีว่า “ข้าวหอมมะลิ” หรือ Jasmin Rice เป็นสินค้าที่เชิดหน้าชูตาให้กับประเทศ ด้วยตำแหน่งข้าวที่หอมอร่อยและดีที่สุดในโลก จนทำให้ประเทศไทยครองแชมป์ส่งออกข้าวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นสินค้าชนิดแรกของไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็น “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ Geographical Indications (GI) จากสหภาพยุโรป ด้วยความหอมกรุ่นนุ่มอร่อยชนิดที่กินเปล่า ๆ ก็ประทับใจ แต่เคยสงสัยไหมว่า ทั้งที่ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำไมชาวนาส่วนมากยังคงยากจนอยู่ แถมช่วงหลังมานี้ ข้าวไทยยังถูกตีตลาดด้วยข้าวหอมมะลิเกิดใหม่จากถิ่นอื่นจนกระทบต่อเศรษฐกิจชาติ...ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น
.
สินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด โรงสีใหญ่ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นคนหนึ่งที่เก็บเอาความสงสัยนี้มาขบคิดต่อ และท้าทายตัวเองด้วยการพยายามหาทางออก จนเกิดแรงขับเคลื่อนให้เถ้าแก่โรงสีอย่างเขาลงไปคลุกดินคลุกโคลนลองผิดลองถูกอยู่กลางท้องนา กระทั่งมองเห็นปัญหาอย่างกระจ่างชัด และพบแสงสว่างของหนทางรอดที่ปลายอุโมงค์ จนได้นำมาสู่การจัดตั้ง “โครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด” และแบรนด์ “ข้าวตราศรีแสงดาว” ขึ้น โดยตั้งใจจะกู้ศักดิ์ศรีชาวนาและทวงบัลลังก์แชมป์ข้าวหอมมะลิไทยกลับคืนมาให้จงได้
.
ก้าวแรกสู่วงการข้าว จากหน้าที่กลายเป็นความรัก
.
ผมเป็นรุ่นที่สองของโรงสีศรีแสงดาว ตอนมารับช่วงต่อ ผมเพิ่งเรียนจบ อายุ 22 ปี สารภาพเลยว่าตอนนั้นไม่ได้ชอบโรงสีหรอก อยากเป็นนักดนตรีมากกว่า แต่ที่บ้านมีลูกชายคนเดียว เราเห็นว่าเป็นหน้าที่จึงตัดสินใจกลับมาทำทั้งที่ก็ไม่ได้อินเรื่องข้าวเลย ต้องสะกดจิตตัวเองทุกวันว่าเราเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ต้องทำให้ดีที่สุด กระทั่งผ่านไป 3-4 เดือน จากที่เคยรู้สึกเฉย ๆ ก็กลายเป็นความรักขึ้นมา พอรักแล้วก็ตั้งใจจริง ศึกษาดูงานโรงสีเต็มที่ พยายามพัฒนาตัวเอง จนวันหนึ่งเมื่อสิบปีก่อน ได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานที่ประเทศไต้หวันกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI Thailand) แล้วเห็นว่าประเทศที่เป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ พื้นที่ก็น้อย ทั้งยังต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ยังสามารถปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงประชากรและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ที่น่าสนใจคือเขาทำนาแบบประณีต มีมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าความรู้และเทคโนโลยีในการทำนาของเขานำหน้าเราไปเป็นสิบปี พอมองกลับมาที่บ้านเรา ภูมิประเทศก็ดี อากาศดี ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ข้าวหอมมะลิของเราก็ยอดเยี่ยม ได้รางวัลระดับโลกมากมาย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตข้าวคุณภาพดีสูงมาก แต่ทำไมมาตรฐานการปลูกข้าวของเรายังไม่ไปถึงไหน เกษตรกรไทยก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม นั่นเป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้นที่ทำให้อยากช่วยชาวนา แต่ตอนนั้นเรายังไม่แข็งแรงพอ จึงเก็บความคิดนี้ไว้รอวันต่อยอดในภายหลัง
.
แล้วโครงการหมู่บ้านนาหยอด เป็นมาอย่างไร
.
ความที่ทำโรงสีผมจึงเห็นมาตลอดว่าชาวนาลำบาก หลายครั้งถูกขอให้เพิ่มราคาข้าว บอกช่วยพ่อหน่อยนะ ช่วยแม่หน่อย ขึ้นราคาหน่อยได้ไหม เราก็ช่วยได้แค่ 10-30 สตางค์ต่อกิโลกรัม เพราะมีราคาตลาดเป็นเกณฑ์อยู่ ถ้าซื้อแพงเกินไปก็ขาดทุน เลยพยายามพูดคุยเพื่อหาข้อมูลว่าจะมีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ ทำให้เห็นว่าชาวนาส่วนใหญ่ทำนาตามยถากรรมและขาดความรู้เรื่องการจัดการ จึงเกิดปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์เยอะเกินไป ขาดความรู้เรื่องการจัดการธาตุอาหาร โรคแมลง และการเตรียมดินที่ถูกวิธี เมื่อผมพร้อมที่จะลุยและตัดสินใจทำตรงนี้จริงจังก็ได้เข้าไปคุยปรึกษากับปราชญ์ชาวบ้าน และขอให้อาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องมาช่วยหาทางแก้ไข จากนั้นได้ทดลองทำนาหลายวิธีมาก จนมาเจอวิธี “ทำนาหยอด” ที่น่าสนใจเพราะช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 35 เท่า และเพิ่มผลผลิตจาก 300 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ได้
.
ก่อนหน้านี้ชาวนาในพื้นที่มีวิถีการทำนาแบบไหน
.
ถ้าย้อนดูวัฒนธรรมการปลูกข้าวของไทยจะเห็นว่า ในอดีตปู่ย่าตายายเราทํานาแบบ “นาดํา” มีประเพณีการลงแขก ช่วยกันดำนา ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ก็เช่นกัน แต่พอผู้คนแห่แหนไปทํางานในเมืองใหญ่ ประเพณีการลงแขกดำนาก็ค่อย ๆ หายไป พอจะจ้างแรงงาน ค่าแรงก็สูง เกษตรกรเลยเปลี่ยนวิธีทํานามาเป็น “นาหว่าน” โดยตัดขั้นตอนการเพาะกล้า การปักดําออกไป แค่ไถนาแล้วหว่านเลย เป็นวิธีที่ง่ายดีแต่ก็ทําให้เกิดปัญหาตามมา เพราะนาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์เยอะ ประมาณ 35 กิโลกรัมต่อไร่ พอข้าวงอกประชากรข้าวก็หนาแน่น เกิดการแย่งอาหาร การรับแดด รับลม สังเคราะห์แสงก็ทําได้ไม่ดี เป็นโรคเป็นแมลงง่าย แถมยังไม่ทนแล้ง ผลผลิตต่อไร่จึงต่ำ นาหว่านเลยเหมือนเป็นกับดักของเกษตรกรที่ทําง่ายในช่วงต้นแต่สร้างปัญหาในภายหลัง
.
ส่วนการทำนาหยอด จริง ๆ ในประเทศไทยมีมานานแล้ว เป็นการทํานาเชิงประณีต ซึ่งให้ผลผลิตดี ทนแล้ง เหมาะกับภาคอีสานอย่างเรา แต่เกษตรกรยังเคยชินกับการทำนาหว่านที่ใช้เมล็ดพันธุ์มาก พอให้มาทำนาหยอดที่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย ๆ ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรเลยรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะการเปลี่ยนวิธีทำนาก็คือความเสี่ยง หากผิดพลาดหมายถึงรายได้ทั้งปีของเกษตรกร จึงยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร อย่างช่วงแรกผมชวนให้หยอดข้าวฟรีก็แทบจะไม่มีใครอยากเข้าร่วม เพราะเขาไม่เคยทำ เลยกลัวว่าจะได้ผลผลิตน้อย กลัวเสียปีเสียเดือน เกษตรกรว่าอย่างนั้น
.
จุดเด่นหรือข้อดีของการทำนาหยอด
.
นาหยอดเป็นการทํานาที่ค่อนข้างทันสมัยระดับต้น ๆ ของโลก วิธีการคือต้องมีการเตรียมแปลงที่ดี ล่อให้หญ้าขึ้นเต็มที่ก่อนแล้วค่อยไถทิ้ง ตากดินทิ้งไว้ 15 วันเพื่อกําจัดไข่แมลง กําจัดเชื้อโรคในดิน กําจัดวัชพืช เสร็จแล้วไถอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้แปลงนาที่สะอาดแล้วค่อยหยอด โดยใช้เครื่องจักรฝังเมล็ดลงไปในดินทางตรง เป็นการหยอดข้าวแห้งทิ้งไว้เลย พอฝนตกวันไหน นับไปอีกสองอาทิตย์ข้าวจะงอก จากนั้นก็ใช้การจัดการธาตุอาหารและการจัดการโรคแมลงควบคู่ไปด้วย ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือช่วยลดต้นทุนได้เยอะ เพราะลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ลง ซึ่งผ่านการทดลองมาแล้วว่าใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กิโลกรัมก็ให้ผลผลิต 600 กิโลกรัมต่อไร่ได้ และแม้ว่าทุกวันนี้เกษตรกรหลายรายยังใช้เมล็ดพันธุ์หยอดข้าว 8 กิโลกรัมบ้าง 12 กิโลกรัมบ้าง หรือ 18 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะยังไม่มั่นใจ แต่ก็นับว่าน้อยกว่าการทำนาหว่านที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่อยู่ดี ทั้งนี้ ในอนาคตเราตั้งใจไว้ว่าจะส่งเสริมเกษตรกรต้นแบบให้เยอะขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรรายใหม่ ๆ มั่นใจว่าใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กิโลกรัม ก็ทําให้เขาได้ผลผลิตมากขึ้นได้
.
คิดว่าสิ่งที่ชาวนาในพื้นที่ได้จากโครงการนี้คืออะไร
.
เกษตรกรที่ทําสําเร็จแน่นอนว่าสิ่งที่จับต้องได้คือการมีรายได้ที่มากขึ้น เพราะเพียงแค่เขาลดเมล็ดพันธุ์ลงก็ลดต้นทุนได้แล้ว และยังได้ผลผลิตที่ดี เพิ่มปริมาณขึ้นจาก 300 กิโลกรัม เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ เหมือนปลูกข้าวครั้งหนี่งได้ผลผลิตสองปี ดังนั้นเรื่องเงิน เรื่องกำไร เขาได้แน่นอน ส่วนอีกเรื่องเป็นด้านนามธรรม ผมมองว่าเขาได้เปลี่ยนมุมมองและวิธีคิด กลายเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น สังเกตได้จากช่วงปีแรก ๆ ที่เราเข้าไปส่งเสริมจะเหมือนจับปูใส่กระด้ง พูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ พอบอกว่าใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ทําผลผลิตได้ 600 กิโลกรัม เขาหัวเราะเลย เพราะไม่เคยทําได้มาก่อน ที่ทุกวันนี้คุยกันง่ายเพราะภาพความสําเร็จของเกษตรกรในโครงการของเรามีเยอะขึ้น
.
จากหมู่บ้านนาหยอด ต่อยอดสู่การสร้างแบรนด์ข้าวตราศรีแสงดาว
.
หลังจากพยายามพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นถึงศักยภาพของการทำนาหยอดด้วยการขอหยอดข้าวให้ฟรี แม้จะไม่ค่อยมีคนกล้าทำ เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ข้าว แต่ในที่สุดปีแรกก็มีเกษตรกรรอบโรงสีเข้าร่วมโครงการ 20 ราย รวมพื้นที่ปลูกข้าว 300 ไร่ ซึ่งต่างก็เห็นผลสำเร็จจากการทำนาหยอด จากนั้นพอผลักดันให้เกษตรกรสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง ในปีที่ 3 ของโครงการ ผมก็ตัดสินใจทำแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวขึ้นมา ด้วยเห็นว่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่รอบโรงสีเราเป็นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ GI ตามโครงการ “ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” (Geographical Indication Rice) ที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป จึงมีศักยภาพในการทำตลาด แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครชูจุดเด่นตรงนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพราะหากว่ากันตามตรง คนพื้นที่ไม่ใช่คนส่งออก และคนส่งออกก็ไม่ใช่คนพื้นที่ เมื่อหันซ้ายหันขวาแล้วเห็นว่าไม่มีใครทำ ผมเลยตัดสินใจทำเอง
.
โดดเด่นด้วยการเป็นแบรนด์ข้าวที่ได้รับรางวัล Best Design
.
ต้องบอกก่อนว่าช่วงเริ่มต้นทำแบรนด์ข้าวตราศรีแสงดาวค่อนข้างเครียด เพราะตอนนั้นจำนวนเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการเยอะขึ้นมาก แต่ผมยังไม่มีความรู้ด้านแบรนดิง ทำให้ขายข้าวไม่ได้ ไม่รู้จะไปต่ออย่างไรดี โชคดีที่ได้พบกัลยาณมิตรอย่างอาจารย์แชมป์ (สมชนะ กังวารจิตต์) นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกที่เข้าใจเรื่องแบรนด์และเข้าใจ GI อย่างลึกซึ้ง ซึ่งยินดีมาช่วยออกแบบแพ็กเกจจิงให้กับข้าวศรีแสงดาว โดยนำเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ด้วยนวัตกรรมการเปลี่ยนแกลบเหลือทิ้งให้มาเป็นบรรจุภัณฑ์ และดีไซน์ให้นำไปใช้ซ้ำในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก
.
ส่วนด้านการตลาด เขาแนะนำให้เจาะตลาดของขวัญของฝาก เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จักก่อน เพราะมองว่าข้าวของเรามีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าได้ออกสู่ตลาด ผู้บริโภคได้ลองรับประทาน เชื่อว่าข้าวศรีแสงดาวจะเดินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งพอเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ตัวนี้ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก จากแบรนด์ที่ไม่เคยมีใครรู้จักก็เริ่มเป็นที่รู้จัก เพราะได้รางวัล Best Design จากทั่วโลกถึง 18 รางวัล ถือเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ในวงการข้าวของโลก จึงทำให้เราเริ่มส่งออกข้าวได้ และขยายกลุ่มก้อนเกษตรกรในโครงการให้ใหญ่ขึ้น หลังจากนั้นผมยังได้เข้าร่วมโครงการ “พอแล้วดี The Creator” ที่ช่วยขยายองค์ความรู้ให้เราเข้าใจเรื่องการสร้างแบรนด์ และเข้าใจการทำงานกับชุมชน จนตอนนี้ข้าวศรีแสงดาวเข้าสู่ปีที่ 5 มีเกษตรกรในพื้นที่รอบโรงสีเข้าร่วมโครงการ 50-60 คน รวมพื้นที่ปลูกข้าว 2,000 ไร่ และตั้งใจว่าปีหน้าจะขยายพื้นที่เป็น 4,000 ไร่ ก่อนขยับเป็น 6,000 ไร่ ซึ่งผมมั่นใจว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้
.
มองว่าข้าวศรีแสงดาวมีส่วนช่วยยกระดับข้าวไทยอย่างไร
.
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ก่อนหน้านี้ข้าวหอมมะลิในตลาดโลกล้วนมาจากประเทศไทย โดยเราใช้ชื่อว่า Jasmin Rice ที่สร้างชื่อเสียงมาหลายสิบปี แต่ไม่นานมานี้เพื่อนบ้านเราสามารถผลิต Jasmin Rice ออกมาได้แล้ว ถึงแม้คุณภาพจะไม่เท่า แต่มีความใกล้เคียง และใช้ชื่อเดียวกันคือ Jasmin Rice ทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิมีการแข่งขันสูงขึ้น ราคากลางตกต่ำลง รัฐบาลไทยเลยยกมาตรฐานข้าวหอมมะลิของเราเป็น Thai Hom Mali Rice แต่ปรากฏว่าลูกค้าทั่วโลกงง ไม่รู้จัก เราจึงอยากมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ชื่อ Thai Hom Mali Rice เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิไทยและรักษาประโยชน์ของเกษตรกร ซึ่งเอาจริง ๆ ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ข้าวในตลาดที่ใช้ชื่อ Jasmin Rice ณ วันนี้ คุณภาพเทียบกับ Thai Hom Mali Rice ไม่ได้เลย ยิ่งเป็นข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ยิ่งเทียบไม่ได้ ดังนั้นเวลาส่งออกข้าวศรีแสงดาวไปต่างประเทศ ผมจึงพยายามบอกว่าเราคือ Thai Hom Mali Rice ซึ่งคนละตัวกับ Jasmin Rice ที่ขายทั่วไป และชูว่านี่คือผลิตภัณฑ์ GI ถ้าอยากกินข้าวไทยต้องกินของเรา ผมเชื่อครับว่าถ้ารัฐบาลผลักดัน Thai Hom Mali Rice ต่อไปอีก 10-20 ปี จนตลาดสามารถแยกออกว่านี่คือข้าวไทย จะมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ปลูกและผู้ผลิต อีกทั้งผู้บริโภคเองก็จะได้กินข้าวไทยของแท้ด้วย
.
เป้าหมายที่แท้จริงของโครงการหมู่บ้านนาหยอด
.
ผมอยากให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะทุกวันนี้ในขณะที่ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ชาวนากลับมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลําบาก และด้วยความที่ผมทำโรงสี ความหวังของผมก็คืออยากเห็นวงการข้าวของประเทศพัฒนาขึ้น เพื่อรักษาอาชีพชาวนาให้คงอยู่ ไม่อยากให้เกษตรกรขายที่นา เพราะถ้ามองในมุมของโรงสี ต่อให้ผมมีโรงสีใหญ่ขนาดไหน แต่ถ้าไม่มีเกษตรกรก็ไม่มีข้าวมาให้เราสี ซึ่งวันนี้ผมมีความรู้สึกว่าอาชีพเกษตรกรมีความสุ่มเสี่ยงที่จะหายไป ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของการแข่งขันในเวทีโลกที่ดุเดือดขึ้นมาก ราคาข้าวก็ไม่ได้สูงเหมือนในอดีต แล้วยิ่งมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โลกร้อน ฝนทิ้งช่วง ปลูกข้าวยากขึ้น ทำให้โอกาสที่เกษตรกรจะหายไปมีเยอะขึ้น เลยอยากทําตรงนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานข้าวไทยขึ้นมา รักษาอาชีพชาวนา และกู้ศักดิ์ศรีให้พวกเขาด้วย
.
ความฝันสูงสุดของสินสมุทรและศรีแสงดาว
.
จริง ๆ ตอนนี้ผมดีใจมากที่ข้าวศรีแสงดาวเดินหน้าต่อไปได้ ตัวผมก็มีโอกาสที่จะส่งเสริมเกษตรกรต่อไป เพราะพอได้ทำงานกับชาวนา ได้ช่วยสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรจนเห็นว่าหลายคนมีชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่มาพร้อมความสุข รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มีความหมายกับชีวิต คือธุรกิจเดิมอย่างโรงสีก็ยังคงทำต่อไป เพราะถ้าไม่มีโรงสี ผมก็คงมาถึงจุดนี้ไม่ได้ แต่ถ้าถามถึงความฝันสูงสุด ก่อนตายผมอยากทําโครงการข้าวนาหยอดให้ได้ถึง 10,000 ไร่ ซึ่งถ้าทําได้จริง ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำนาในเมืองไทยแบบยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากจะดีขึ้น และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศก็จะดีขึ้นตาม
.
นอกจากนี้ความหวังสูงสุดของผมอีกอย่างคือ อยากเห็นเกษตรกรทั้งหมดของเราหันมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ใส่ใจดิน ใส่ใจโลกใบนี้แบบ 100% เพราะถ้าไปถึงจุดนั้นได้ จะเป็นการยกระดับข้าวไทยและยกระดับชีวิตเกษตรกรไปอีกเท่าตัว สุดท้ายผมอยากเห็น Segment ที่ชัดเจนของ Thai Hom Mali Rice ถ้าได้เห็นก่อนตายก็จะเป็นความภูมิใจของคนทําข้าวคนหนึ่งครับ
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3YdrAg9
อ่านบทความในมุมมองต่าง ๆ ได้ที่ www.creativethailand.org
อ่านต่อได้ที่ : https://bit.ly/3YdrAg9